การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

                                                          การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
สำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
              การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (BASIC USER) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (GRAPHIC USER) และผู้ใช้งานในระดับสูง (ADVANCED USER) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป
1)       สำหรับ ผู้ใช้มือใหม่ ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อน แนะนำให้ซื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้มักยังใช้งานแบบลองผิดลองถูกอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เครื่องมีปัญหาได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่มีราคาแพง
2)       สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ PHOTOSHOP แต่ง ภาพเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่ เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล
3)       สำ หรับนักศึกาามหาวิทยาลัย ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาจะเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้นสามารถใช้งานโปรแกรม ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้ระดับนี้อาจจะประกอบเครื่องใช้เองได้ เพราะจะทำให้ตนเองมีความรู้มากขึ้น การใช้งานเน้นไปทางพิมพ์งานส่งอาจารย์
4)       สำหรับผู้ใช้งาน WINDOWS VISTA จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงในระดับหนึ่ง ด้วยการเป็นซีพียู DUAL CORE พร้อมแรม 1 GB ขึ้นไป ฮาร์ดิสก์ 250 GB หากตรงตามมาตรฐาน WINDOW VISTA PREMIUM ต้องใช้ฮาร์ดิสก์แบบไฮบริดเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกฮาร์ดดิสก์แบบไฮบริดจะมีราคาแพงมาก
วิธีกำหนดสเป็คเครื่อง

เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งาน WINDOWS VISTA
สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-4  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับผุ้ใช้งาน WINDOWS VISTA
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สเป็คที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น INTEL PENTIUM DUAL CORE หรือ CORE 2 DUO หรือ AMD ATHLON 64 X2/PHENOM X2
แรมประเภท DDR2-667 ขนาด  1-2 GB ทำงานแบบ DUAL CHANNEL
ฮาร์ดิสก์250 GB แบบ SERIAL ATA 300 (ควรเลือกฮาร์ดิสก์แบบไฮบริด)
เมนบอร์ดเลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 8X สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
การ์ดแสดงผลNVIDIA GEFORCE 7300GT/7600 หรือ ATI RADEON X1600/X1650
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือก LCD ขนาด 17 นิ้วขึ้นไป หรือ  CRT 19 นิ้ว
เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ในออฟฟิศ
                เป็นเครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลายเช่น ตกแต่งภาพกราฟิกส์ งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง/ฟังเพลง มีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองการใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน เครื่องที่ตอบสนองเร็วทันใจ ไม่ช้าจนน่ารำคาญ สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-2  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับพีซีระดับผู้ใช้ในออฟฟิศ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สเป็คที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น INTEL PENTIUM DUAL CORE หรือ AMD ATHLON64X2
แรม512 MB ขึ้นไป
ฮาร์ดิสก์ความจุ 160 GB
เมนบอร์ดเลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 4X หรือ 8X สำหรับการ์ดแสดงผลคุณภาพ
การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน AGP 4X หรือ 8X ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 32 MB ขึ้นไป
ไดรว์ CD/DVDCD-ROM หรือ DVD-ROM (อาจเพิ่ม CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล)
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 15-17 นิ้ว
เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
สเป็คเครื่องที่แนะนำมีดังนี้
ตารางที่ 2-5  แสดงสเป็คเครื่องสำหรับผู้ใช้งานระดับสูง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สเป็คที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น INTEL CORE 2 DUO หรือ INTEL CORE 2 QUAD
แรมประเภท DDR2-800 ขนาด  1-2 GB ทำงานแบบ DUAL CHANNEL
ฮาร์ดิสก์320 GB แบบ SERIAL ATA 300 (หรือนำ 250 GB มาต่อ RAID 0)
เมนบอร์ดเลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 8X สำหรับการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูง
การ์ดแสดงผลNVIDIA GEFORCE 8600GTS หรือ ATI RADEON HD 2600 PRO
จอแสดงผลจอภาพ LCD 19-22 นิ้ว



                 นอกจากนั้น หากเครื่องของเราใช้ในการทำงานด้านตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก จำเป็นต้องเลือกการ์ดแสดงผลที่มีคุณภาพดี เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการติดขัด รวมทั้งขนาดของจอแสดงผลเลือกให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกด้วย
การเลือกซื้อซีพียู
การ เลือกซื้อซีพียูต้องพิจารณาเรื่องความเร็ว ความเร็วขั้นต่ำแปรเปลี่ยนไปตามเวลา โดยปกติจะดูว่าซื้อเพื่ออะไร เช่นถ้าซื้อใช้งานเป็นเพียงอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ในห้องเรียนให้นิสิตใช้ เพื่อเป็นการเรียกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถใช้ซีพียูรุ่นต่ำที่มีขายในปัจจุบันราคาซีพียูในระดับต่ำนี้ การตัดสินใจจะเลือกซื้ออะไรมาใช้ คงต้องลองศึกษาจากหลายๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะการมองหารายละเอียด ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งงบประมาณการลงทุนต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย เทคนิคที่เกี่ยวกับซีพียูทั้งสองด้านนี้ สามารถหาได้ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท คือ WWW.AMD.COM และ WWW.INTEL.COM ผู้สนใจลองทำการศึกษาอย่างน้อยเป็นความรู้ที่จะมีประโยชน์ต่อไป
อันดับ แรกที่เราควรให้ความสำคัญ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจำมาประกอบเอง หรือซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเซตก็ตาม คือการเลือกซีพียูนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นและความเร็วของซีพียูตามระดับการใช้งานของเรา เพื่อเราจะได้ทราบรูปแบบอินเทอร์เฟส (SOCKET) สำหรับติดตั้งบนเมนบอร์ด เพื่อเลือกซื้อเมนบอร์ดที่ตรงกับรุ่นของซีพียูต่อไป
computer1
ตัวอย่างการดูสเป็กเครื่องจากใบโบรชัวร์สินค้า
  1. OPERATING SYSTEMหรือ ที่เรียกภาษาไทยว่า ระบบปฎิบัติการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ในชุดนี้เลือกใช้ WINDOWS 7 BASIC ซึ่งเป็น WINDOWS เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเลย หากคุณต้องการที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมาพร้อมระบบปฎิบัติการ WINDOWS ด้วย คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 3,000 บาทขึ้นไปด้วย
  2. PROCESSORหรือ ที่เรียกง่ายๆว่า ซีพียู (CPU) ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์ของคุณจะแรงหรือไม่แรง ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญครับ (แต่ราคาก็จะแปรผันไปกับความแรงด้วย)
  3. CHIPSETอันนี้เป็นตัวที่ควบคุมการทำงานที่สำคัญของเมนบอร์ด (แต่บางที่ก็ไม่บอกรุ่นของ CHIPSET แต่บอกรุ่นของ MAINBOARD แทน)
  4. MEMORY หน่วย ความจำสำรอง หรือที่เราเรียกว่า แรม (RAM) นั่นแหละครับ มีเยอะยิ่งดี เริ่มต้นควรจะมีที่ 2GB (2048 MB) ครับ แม้ว่าตอนนี้ จะเริ่มมี DDR3 เข้ามา แต่ DDR2 ก็ยังได้รับความนิยมอยู่
  5. HARDDISK เป็น ตัวเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเรา ถ้าถามว่า ความจุสักเท่าไหร่ดี สำหรับผมๆ ว่า 320GB ตามสเปคคอมพิวเตอร์นี้ก็โอเคครับ แต่ถ้าได้ถึง 500 – 1000 GB เลยได้ก็ดี เพราะราคาของ HARDDISK ตอนนี้ก็ราคาไม่แพง และได้ความจุที่มากขึ้นเรื่อยๆ
  6. OPTICAL DRIVEเป็นอุปกรณ์สำหรับการเขียนซีดี หรือ ดีวีดี ซึ่งในปัจจุบันควรที่จะรองรับการเขียน DVD แบบ DOUBLE LAYER (8.5GB) เป็นพื้นฐานนะครับ (ส่วน BLU-RAY นั้น รออีกสักพักดีกว่าครับ)
  7. MONITOR อัน นี้เป็นจอภาพแสดงผลครับ ซึ่งปัจจุบันจอภาพแบบ LCD ก็มีราคาถูกพอๆ กับจอภาพ CRT แล้ว (บ้านผมเรียกว่า จอตูดใหญ่) ขนาดที่แนะนำก็คือ 19 นิ้ว + WIDE SCREEN ครับ (เผื่อสำหรับการดูหนัง ฟังเพลง และทำงานครับ) ซึ่งในนี้จะเป็น 18.5 นิ้ว มันก็คือ 19 นิ้วนั่นแหละ
  8. GRAPHICS ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ในส่วนของระบบการแสดงผลของภาพ หรือถ้าคนทั่วไปจะรู้จักกันในนามว่า “การ์ดจอ” (VGA CARD) โดยจะมี 2 รูปแบบก็คือ แบบที่ติดมาพร้อมกับ MAINBOARD (ON BOARD) และแบบที่เป็นอุปกรณ์แยกต่างหาก ( GRAPHICS CARD) โดยถ้าเป็นแบบ ON BOARD นั้น จะเหมาะสมกับการใช้งานทั่วไป ไม่เหมาะกับการนำมาใช้เล่นเกมส์ ซึ่งจุดที่สังเกตได้ง่ายว่า คอมพิวเตอร์ในใบปลิวนั้น เป็นแบบ ON BOARD หรือไม่ ให้ดูว่ามีคำว่า “INTEGRATED” หรือไม่ ถ้ามี เป็นแบบ ON BOARD
  9. CONNECTION ระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งคอมพิวเตอร์รุ่นนี้จะมี WIRELESS LAN รวมอยู่ในระบบด้วย
  10. AUDIO ระบบเสียงที่ใช้ครับ คล้ายๆ กับระบบ GRAPHICS ครับ คือ ถ้ามีคำว่า “INTEGRATED” แสดงว่า เป็นระบ AUDIO ON BOARD
  11. I/O PORTSเป็นช่องสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ เช่น USB PORT , FIRE-WIRE PORT,ช่องสำหรับเสียบไมค์หรือลำโพง
  12. KEYBOARD + MOUSEเป็นอุปกรณ์ที่ควรจะต้องมีอยู่แล้ว
  13. WARRANTY การ รับประกันตัวเครื่อง แล้วแต่ละที่ครับ บางที่ก็ 1 ปี บางที่ก็ 3 ปี อย่าลืมดูด้วยนะครับ ถ้ามีคำว่า ONSITE แสดงว่า เขามีบริการที่ซ่อมให้ถึงบ้านด้วยนะครับ (ซึ่งคอมพิวเตอร์แบบประกอบจะไม่มีตรงนี้)
 spec-computers
การตรวจสอบอุปกรณ์
สภาพของอุปกรณ์ : เป็นการตรวจสอบร่องรอยการนำไปใช้ และดูว่าอุปกรณ์ที่เราจะซื้อใหม่แกะกล่องหรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
อุปกรณ์นั้น
การรับประกัน : ปัจจุบันจะใช้สติกเกอร์ เนื่องจากการรับประกันแบบนี้  จะเป็นเครื่องยืนยันว่าลูกค้าได้ซื้ออุปกรณ์มจากร้านของตนจริง ได้ซื้อตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีระยะการรับประกันเป็นเวลาเท่าไร
เลือกซื้อซีพียู
การเลือกความเร็วของซีพียู : ความเร็วของซีพียูในปัจจุบันถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว  สามารถแบ่งความเหมาะสมตามลักษณะของงานที่ทำได้ดังนี้
ตารางที่ 2-4 แสดงความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ
ลักษณะของงานที่ต้องการความเร็วของซีพียู
งานพิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ตใช้ความเร็ว 700 – 1300 MHZ
งานกราฟิกส์ ตกแต่งภาพความละเอียดสูงใช้ความเร็ว 1.3 – 2.0 GHZ
งานสร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียง และวิดีโอใช้ความเร็ว 2.0 GHZ ขึ้นไป

             เลือกยี่ห้อของซีพียู : หากถามว่าจะเลือกซื้อซีพียู ค่ายไหนดี เท่าที่นิยมกันส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็มีINTELและAMDเท่านั้น
                ซีพียูจากค่าย INTEL : ผลิตทั้งรุ่นที่ออกมาสำหรับตลาดระดับล่างอย่าง CELERON และรุ่น PENTIUM 4  สำหรับตลาดระดับบนที่ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานสูง โดยมากแล้วชิปซีพียูจากค่าย INTEL จะได้รับความนิยมสูงกว่าค่ายอื่นๆ เพราะมีเสถียรภาพสูงกว่า และร้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ AMD
                ซีพียูจากค่าย AMD : ถือเป็นคู่แข่งตลอดกาลของ INTEL โดยมีชิปซีพียูรุ่น DURON สำหรับตลาดราคาประหยัด และ ATHLONXP สำหรับตลาดระดับบน โดยตัวเลขที่บอกประสิทธิภาพนั้นจะเปรียบเทียบกับ ATHLON รุ่น THUNDERBIRD ไม่ได้บอกเป็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาเหมือนอย่าง INTEL โดยรวมแล้ว ชิปซีพียูของ AMD มีราคาต่ำกว่าพอสมควร ถือเป็นทางเลือกของผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และประสิทธิภาพถือว่าไม่ด้วยกว่ากัน
เลือกซื้อเมนบอร์ด
                คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ INTEL®CORE I7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA GEFORCE295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง
ชนิดของซีพียู (CPU SOCKET)
ชิปเซต (CHIPSET)
                    เป็นศูนย์กลางของเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านไปยังฮาร์ดแวร์ส่วนตัวต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกับเมนบอร์ด ซึ่งการเลือกซื้อ เลือกใช้ต้องอ้างอิงจากตัวซีพียูเป็นหลัก โดยปกติแล้วผู้ผลิตซีพียูอย่างเช่น INTEL® ก็เป็นผู้ผลิตชิปเซ็ต INTEL® ไม่ว่าจะเป็น X58, P55, P45, G45, G31CHIPSET และ อื่นๆ อีกมากมายด้วยเช่นกัน ส่วนฝั่ง AMD หลังจากได้รวมกิจการกับ ATI ก็ใช้ชิปเซ็ตหลักเป็น ATI ไม่ว่าจะเป็น 790X, 785 และ 770 CHIPSET และผู้ผลิตก็จะมีการกำหนดมาตรฐานการใช้งานระหว่างซีพียู กับชิปเซ็ตไว้อยู่แล้ว รวมถึงมีบทความ หรือ ข้อมูลแนะนำในการจับคู่กันอยู่แล้ว
เลือกซื้อแรม
1.ประเภทของแรม
           สำหรับประเภทของแรมนั้น  ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน  โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต  สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผมจะแนะนำนะครับ ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แต่ต่างกัน
1.1 DDR 2
           สำหรับ DDR 2 นั้นมีความนิยมเป็นอย่างยิ่งในขนาดนี้ถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว  เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมดแล้ว  แล้วราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ  และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว  มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIZ ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V
1.2  DDR3
            เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHZ เลยทีเดียว  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4 มาแล้วเอาไว้คราวหน้าตอนที่มีคนใช้เยอะๆ  จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนราคาตอนนี้ยังสูงอยู่  แต่ถ้าใครต้องการซื้อหรือมีตังพอไม่ขัด ครับ  เพราะว่ากำลังจะเป็นที่นิยมกันแล้ว  แต่ต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับหรือไม่  เพราะว่ายังมีเมนบอร์ดที่ยังไม่รองรับอีกเยอะครับ  ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด
2.หน่วยความจำ
                 แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก  ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GHZ  ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก  แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา  เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ
3.ความเร็ว
                  ความเร็วหรือว่า บัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน  แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน  หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรมก็เท่ากับ  เมนบอร์ดรองรับ  และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน  มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง
4.ก็การเลือกยี่ห้อ
                 การเลือกยี่ห้อนั้นแล้วแต่ศรัทธาครับ  ไม่ว่ากันแต่จะมีการรับประกันที่แต่ต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเองครับ  อย่างเช่นการเครมที่ไหม้ได้ไม่ได้  รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้นส่วนตัวผมเอง  ใช่มาหลายยี่ห้อแล้วไม่ต่างกันเลย  เพราะฉะนั้นอยากได้ยี่ห้อไหนรับประกันดีเป็นพอ

เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
               สำหรับฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก  เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีการเลือกซื้อให้เหาะสมกับความต้องการของเรา  ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ได้มีราคาต่อความจุถูกมาก  และมีความเร็วที่แตกต่างกัน  จะข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์
              ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  คือ  (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
– แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้  เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า  และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
– แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก  เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว  และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
2.ขนาดของความจุ
              ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล  นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง  เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน  ไม่รู้จักเต็มสักที  แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
3.ความเร็วรอบ
               ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์  คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว  ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (RPM)  ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 RPM แล้ว  และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 RPM
4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์
               บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองครับ  เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์   ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก  โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม  แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง  ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์  ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
              ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (SEEK TIME) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี  ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง  ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น

เลือกซื้อการ์ดแสดงผล
               การ์ดแสดงผล  เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำหน้าทีในการประมวลผลสัญญาณของภาพเพื่อส่งต่อไปยังมอนิเตอร์  เพื่อแสดงภาพ  สำหรับการ์ดแสดงผลนี้เป็นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ต้องการภาพที่สมจริงรวมไปถึงคนที่ต้องการเล่นเกมส์  และคนที่ชอบตัดต่อ VDO ส่วนใหญ่แล้ว  ก็จะติดตั้งมาพร้อมเมนบอร์ด  แต่คนที่ต้องการจะมีการ์ดแสดงผลแยกตางหากก็สามารถ  เลือกที่ไม่มีติดตั้งก็ได้
ประเภทของ การ์ดแสดงผล
1.AGP(ACCELERATED GRAPHICS PORT)
เป็นพอร์ตรุ่นเดิมในปัจจุบันได้ล้าสมัยไปเพราะมีความเร็วที่ต่ำ
sapphire-x800gto-agp-front
2.PCI EXPRESS
เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อใหม่ล่าสุด  ซึ่งมีความเร็วมากกว่า AGP
00010_11
เลือกซื้อจอแสดงผล
หลักการเลือกซื้อจอภาพคอมพิวเตอร์
  1. ควรเลือกจอภาพขนาด 15 นิ้วขึ้นไปเป็นอย่างน้อย เพราะปัจจุบันจอภาพ 15 นิ้ว มีราคาสูงกว่าจอภาพขนาด 14 นิ้วเล็กน้อยเท่านั้น
  2. ควรเลือกจอภาพที่มีค่าระยะด็อตพิชต์ต่ำๆ เพราะจะทำให้ภาพออกมาคมชัด
  3. เลือกจอภาพที่สามารถเลือกความละเอียดได้หลายโหมด
  4. ควรเลือกแบบจอแบน เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้
  5. ตรวจดูปุ่มรับการควบคุมจอภาพต่างๆ ว่าสามารถปรับอะไรได้บ้าง ใช้งานง่ายและสะดวกหรือไม่
  6. จอภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ ADI, CTX, LG, MAG, PANASONIC,  PHILIPS,  SONY,  SUMSUNG, VIEWSONIC เป็นต้น
images-124download4   download-12

การเลือกซื้อ ไดร์ฟ ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD-RW DRIVE)
CD-RW (ซีดี-อาร์ดับบลิว)
CD-RW (ซีดี-อาร์ดับบลิว) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งได้ โดยที่แผ่นซีดีนี้สามารถแบ่งการบันทึกเป็นหลายๆ SESSION ได้เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แตกต่างกันตรงที่แผ่น CD-RW สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลทิ้งได้ อย่างไรก็ตาม การนำแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาบันทึกซ้ำ หรือนำแผ่นที่มีข้อมูลเต็มแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง คุณจำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งแผ่นทิ้งไปก่อน แล้วนำกลับมาใช้เหมือนแผ่นเปล่า — และด้วยความสามารถที่เหนือว่าแผ่น CD-R จึงทำให้แผ่น CD-RW มีราคาที่สูงกว่าแผ่น CD-R

เลือกซื้อเครื่องพิมพ์

              ก่อนที่เราจะเลือกซื้อ ควรจะทราบเสียก่อนว่าต้องการนำไปใช้งานแบบใดเป็นหลักหรือต้องการฟังก์ชันใดๆ บ้าง  เช่น  นำไปพิมพ์เอกสารทั่วๆ ไป,  พิมพ์ภาพถ่าย,  การพิมพ์พร้อมทำสำเนา  หรือต้องการใช้งานที่หลากหลาย  หรือพิมพ์งานที่ต้องการความคมชัดมากๆ ซี่งประเภทของ PRINTER นั้นมีมากมายหลายแบบมาก
           1.เลือกชนิดของ PRINTER ให้ถูกต้องตามประเภทของการใช้งาน
  1.          สำรวจงบประมาณที่ต้องการซื้อ ที่คุ้มค่ากับการใช้งาน
           หากคุณผู้อ่านมีงบประมาณที่จะซื้ออยู่แล้ว  ก็สามารถคำนวณได้ว่าจะซื้อ PRINTER รุ่นใดได้บ้าง  และมีฟังก์ชันที่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่  ซึ่งหากตัดฟังก์ชันบางอย่างหรือคุณสมบัติที่ไม่ต้องการออกไป  ก็จะทำให้สามารถลดงบประมาณในการซื้อลงได้
  1. เปรียบเทียบคุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น
           เมื่อเลือกชนิดของ PRINTER ได้ และทราบงบประมาณแล้ว  เราก็ควรพิจารณาคุณสมบัติหรือ SPEC ต่างๆ ของ PRINTER แต่ละรุ่น  เพื่อเปรียบเทียบกันว่าควรจะซื้อรุ่นไหนดี  โดยหัวข้อสำคัญที่เราควรจะทราบหลายๆ อย่างเช่น
           – ความละเอียด (RESOLUTION) ว่า PRINTER เครื่องนี้พิมพ์ได้ละเอียดแค่ไหน  (หน่วยเป็น DPI)  ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว  PRINTER ในปัจจุบันก็พิมพ์งานได้ละเอียดมากพออยู่แล้วครับ  คุณภาพการพิมพ์มักจะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งค่า และกระดาษที่ใช้มากกว่า
           – ขนาดของหยดหมึก หน่วยเป็น PL
           – ความเร็วในการพิมพ์ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกัน หากพิมพ์งานสีหรืองานขาว-ดำ,  หากเราต้องการพิมพ์งานทีละมากๆ หรือใช้ในออฟฟิส  ก็ควรใช้เครื่อง PRINTER ที่มีความเร็วสูงขึ้น
           – ขนาดกระดาษที่รองรับ  (เล็กสุด-ใหญ่สุด) พิมพ์กระดาษได้หนาแค่ไหน, พิมพ์ไร้ขอบได้หรือไม่,  รองรับการพิมพ์ 2 ด้านหรือไม่,  ถาดป้อนกระดาษป้อนได้สูงสุดแค่ไหน
           – หมึกพิมพ์ที่ใช้  ใช้หมึกพิมพ์แบบแยกสี หรือรวมเป็นตลับเดียว   ซึ่งหากใช้หมึกพิมพ์แบบแยกเป็นแต่ละสีจะประหยัดกว่า  เนื่องจากจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งตลับกรณีหมึกหมด  และโดยปกติแล้ว หมึกพิมพ์ของ PRINTER แต่ละรุ่น  มักจะราคาไม่เท่ากัน  (ไม่แนะนำให้ซื้อ PRINTER ที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียวครับ  เพราะหมึกพิมพ์มักมีราคาแพง ทำให้ไม่คุ้มค่าในระยะยาว)
           – การเชื่อมต่อการสั่งพิมพ์   ซึ่ง PRINTER รุ่นใหม่ๆ บางรุ่นใช้เป็น WIRELESS แล้ว  และสามารถสั่งพิมพ์ได้ง่ายๆ จากกล้องหรือมือถือได้อีกด้วย
           – ฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ ที่น่าสนใจ  เช่น  มี SCAN และถ่ายเอกสารในตัว,  สามารถรับ-ส่ง แฟ็กซ์ได้
           – เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา  เช่น  บางยี่ห้อมีเทคโนโลยีของหมึกพิมพ์โดยเฉพาะซึ่งช่วยให้การพิมพ์ภาพสีมีความคมชัดและสดใสมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น